วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การบวกและการคูณในระบบจำนวนจริง

การบวกและการคูณในระบบจำนวนจริง
ในระบบจำนวนจริง มีเอกลักษณ์การบวกจำนวนเดียวคือ 0 เมื่อ  a เป็นจำนวนจริงใดๆ a+0 = a = 0+a

ในระบบจำนวนจริง อินเวอร์สการบวกของจำนวนจริง a หมายถึง จำนวนจริงที่บวก a แล้วได้ผลลัพธ์เป็น 0 ใช้สัญลักษณ์ “-a” แทนอินเวอร์สการบวกของจำนวนจริง  a   อ่านเพิ่มเติม

การเท่ากันในระบบจำนวน

การเท่ากันในระบบจำนวน
สมบัติของจำนวนจริง
สมบัติการเท่ากันของจำนวนจริง
กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
1. สมบัติการสะท้อน a = a
2. สมบัติการสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a
3. สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c
4. สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c
5. สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว ac = bc

สมบัติการบวกในระบบจำนวนจริง
กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
1. สมบัติปิดการบวก a + b เป็นจำนวนจริง
2. สมบัติการสลับที่ของการบวก a + b = b + c
3. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการบวก a + ( b + c) = ( a + b ) + c
4. เอกลักษณ์การบวก 0 + a = a = a + 0
นั่นคือ ในระบบจำนวนจริงจะมี 0 เป็นเอกลักษณ์การบวก
5. อินเวอร์สการบวก a + ( -a ) = 0 = ( -a ) + a
นั่นคือ ในระบบจำนวนจริง จำนวน a จะมี -a เป็นอินเวอร์สของการบวก

สมบัติของจำนวนจริงเกี่ยวกับการบวกเเละการคูณ

จำนวนจริง

จำนวนตรรกยะ (rational number) เป็นจำนวนจริงที่สามารถเขียนได้ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มที่ตัวส่วนไม่เป็นศูนย์ และเขียนในรูปทศนิยมซ้ำได้ อ่านเพิ่มเติม

จำนวนจริง

จำนวนจริง
จำนวนจริง คือจำนวนที่สามารถจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งกับจุดบนเส้นตรงที่มีความยาวไม่สิ้นสุด (เส้นจำนวน) ได้ คำว่า จำนวนจริง นั้นบัญญัติขึ้นเพื่อแยกเซตนี้ออกจากจำนวนจินตภาพ จำนวนจริงเป็นศูนย์กลางการศึกษาในสาขาคณิตวิเคราะห์จำนวนจริง (real analysis)อ่านเพิ่มเติม

การให้เหตุผลเเบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning)
 การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการนำความรู้พื้นฐานซึ่งอาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อน และยอมรับว่าเป็นความจริงเพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป เป็นการอ้างเหตุผลที่มีข้อสรุปตามเนื้อหาสาระที่อยู่ภายในขอบเขตของข้ออ้างที่กำหนด

วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การให้เหตุผลเเบบอุปนัย

การให้เหตุผลเเบบอุปนัย
  การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) เกิดจากการที่มีสมมติฐานกรณีเฉพาะ หรือเหตุย่อยหลายๆ เหตุ เหตุย่อยแต่ละเหตุเป็นอิสระจากกัน มีความสำคัญเท่าๆ กัน และเหตุทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีเหตุใดเหตุหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นสมมติฐานกรณีทั่วไป หรือกล่าวได้ว่า การให้เหตุผลแบบอุปนัยคือการนำเหตุย่อยๆ แต่ละเหตุมารวมกัน เพื่อนำไปสู่ผลสรุปเป็นกรณีทั่วไป เช่นตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัย อ่านเพิ่มเติม

ยูเนียน อินเตอร์เซคเเละเพาเวอร์เซต

ยูเนียน อินเตอร์เซคเเละเพาเวอร์เซต
ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน และคอมพลีเมนต์ของเซต เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำระหว่างเซต เรานิยมเขียนออกมาในสองรูปแบบด้วยกันคือแบบสมการ และแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ เราลองมาดูกันครับว่ายูเนียน อินเตอร์เซกชัน และคอมพลีเมนต์ของเซต เป็นอย่างไรพร้อมตัวอย่าง  อ่านเพิ่มเติม

สับเซตเเละเพาเวอร์เซต

สับเซตเเละเพาเวอร์เซต
สับเซต (subset) ถ้าแปลตรงตัวก็คือ เซตย่อย ที่ย่อยออกมากจากอีกเซต เช่น ถ้าบอกว่า $A$ เป็นสับเซตของ $B$ นั้นหมายความว่า เซต $B$ จะต้องใหญ่กว่าหรือเท่ากันกับเซต $A$ และเนื่องจากเซต $A$ ย่อยออกมาจากเซต $B$ สมาชิกทุกตัวใน $A$ จะต้องอยู่ในเซต $B$ ด้วย อ่านเพิ่มเติม

เอกภพสัมพัทธ์

เอกภพสัมพัทธ์
เซตว่าง และเอกภพสัมพัทธ์ จากบทเรียนเรื่องเซต คณิตศาสตร์ ม.4 ถือเป็นพื้นฐานของเรื่องเซต ที่เราควรจะทำความสนิทสนมกับมันให้มาก เพราะมันเป็นพื้นฐานทั้งหมดในการเรียนเรื่องเซต  อ่านเพิ่มเติม

วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เซต

เซต
เซต  เป็นคำที่ใช้บ่งบอกถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆ และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม สิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม เช่น
       เซตสระในภาษาอังกฤษ  หมายถึง  กลุ่มของอังกฤษ  a, e, i, o และ u
       เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า 10 หมายถึง  กลุ่มตัวเลข 1,2,3,4,5,6,7,8,และ9
        สิ่งที่ในเชตเรียกว่า  สมาชิก  ( element หรือ members ) อ่านเพิ่มเติม